เวบไซด์ ปิดทองดอทคอม สร้างเพื่อประชาสัมพันธ์ งานปิดทองฝังลูกนิมิต โดยได้นำมาจากข้อมูลการประกาศตามท้องถนนและสี่แยกต่าง ๆ และข้อมูลตามเวบไซด์ ท่านใดมีข้อมูลสามารถส่งได้ที่ [email protected] หรือ post ลง webboard ได้ครับ |
การปิดทองฝังลูกนิมิต |
![]() |
![]() |
![]() |
Written by Administrator |
Sunday, 20 September 2009 16:11 |
การปิดทองฝังลูกนิมิต
พุทธศาสนิกชนที่เข้าไปในวัด ส่วนใหญ่คงจะรู้สึกชินตา กับ แท่นหินในซุ้มที่ตั้งอยู่รอบๆ โบสถ์ที่เราเรียกกันว่า “ ใบสีมา ” หรือ “ ใบเสมา ” อยู่ไม่น้อย แต่เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่ทราบว่าใบสีมานี้มีไว้เพื่ออะไร และหากจะบอกต่อว่า ใต้ใบสีมานี้จะมี “ลูกนิมิต” ฝังอยู่ข้างใต้ คงมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่อยากทราบว่า “ลูกนิมิต” คืออะไร และทำไมต้องฝังไว้ใต้ใบสีมาดังกล่าว โดยเฉพาะเมื่อเราเดินทางไปต่างจังหวัด หลายครั้งหลายครา ที่เราเห็นป้ายที่ปักข้างทางเชิญชวนให้พุทธศาสนิกชนไปร่วม “ฝังลูกนิมิต” ตามวัดต่างๆ หลายคนก็คงสงสัยว่า ใช่ลูกนิมิตเดียวกันหรือไม่ ดังนั้น เพื่อเป็นความรู้ในเรื่องดังกล่าว กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำเรื่องเกี่ยวกับลูกนิมิตมาเสนอให้ทราบ ดังนี้
โดยทั่วไป “ลูกนิมิต” ที่เราเห็น มัก จะมีลักษณะเป็นลูกหินกลมๆ สีดำ มีทองคำเปลวปิดโดยรอบ ซึ่งตามความหมาย ของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฯ “ลูกนิมิต” หมายถึง “ ลูกที่ทำกลมๆ ประมาณเท่าบาตร มักทำด้วยหิน ใช้ฝังเป็นเครื่องหมายเขตอุโบสถ ”ส่วนพจนานุกรมฉบับมติชนให้ความหมายว่า“ ก้อนหินที่วางบอกเขตพัทธสีมา ในการทำสังฆกรรม ”สรุปแล้ว ลูกนิมิต ก็คือ ลูกหินกลมๆ ที่ใช้ฝังเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกให้ทราบว่า ตรงไหนเป็นเขตอุโบสถหรือโบสถ์ เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรมนั่นเอง เพราะคำว่า “ นิมิต” แปลว่า “เครื่องหมาย” เหตุที่ต้องมี “นิมิต” เป็นเครื่องหมาย บอกว่าตรงไหนเป็นโบสถ์ ก็สืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาล เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศศาสนาแล้ว ภายหลังได้มีผู้เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุสาวกมากขึ้น พระองค์จึงได้ส่งพระภิกษุเหล่านี้ ออกไปเผยแผ่พระศาสนาตามที่ต่างๆ ซึ่งการที่พระภิกษุออกไปอยู่ห่างไกล จากพระพุทธองค์นั้น ก็เท่ากับห่างจากการฟังพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ อีกทั้ง พระสงฆ์ที่บวชแล้ว ก็มิใช่ว่าจะบรรลุพระอรหันต์กันทุกองค์ ดังนั้น อาจจะเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งของพระพุทธองค์ ที่ต้องการให้มีการทบทวนพระธรรมคำสั่งสอน ของพระองค์อยู่เสมอ รวมทั้งให้สงฆ์ได้มีการปรึกษาหารือ เพื่อแก้ปัญหาหรือทำกิจบางประการร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงได้กำหนดให้ พระสงฆ์ต้องประชุมร่วมกัน หรือที่เรียกว่า ทำสังฆกรรม ในบางเรื่อง เช่น การสวดปาติโมกข์ การบวชพระ การกรานกฐิน และการปวารณากรรม เป็นต้น โดยกำหนดให้ทำสังฆกรรมในบริเวณที่กำหนดไว้เท่านั้น เพื่อมิให้ฆราวาสมายุ่งเกี่ยว เนื่องจากเรื่องเหล่านี้ เป็นกิจของสงฆ์ผู้ทรงศีลโดยเฉพาะ แต่เนื่องจากในสมัยแรกๆ พระภิกษุยังไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน
“การฝังลูกนิมิต” นี้ มีชื่อเรียกเป็นทางการอีกอย่างหนึ่งว่าการ “ผูกพัทธสีมา” (ซึ่ง ก็แปลว่า เขตทำสังฆกรรมที่กำหนดตามพุทธานุญาต) โดยปัจจุบันจะเริ่มจากพระสงฆ์ ประชุมพร้อมกันในโบสถ์ เพื่อทำพิธี สวดถอน มิให้อาณาบริเวณที่จะกำหนดนี้ ไปทับที่ที่เคยเป็นสีมา หรือเป็นที่ที่มีเจ้าของครอบครองอยู่ก่อน เมื่อพระสงฆ์สวดถอนเป็นแห่งๆ ไปตลอดสถานที่ ที่กำหนดเป็นเขตแดนทำสังฆกรรมแล้วว่า มีอาณาเขตเท่าใด จากนั้นจะต้องไปขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อให้ที่ดินบริเวณนั้นเป็นสิทธิ์ของสงฆ์ ที่เรียกว่าขอ วิสุงคามสีมา (คือเขตที่ได้พระราชทานแก่สงฆ์ เพื่อใช้เป็นที่ทำสังฆกรรม) เป็นการแยกส่วนบ้านออกจากส่วนวัด ( วิสุง แปลว่า ต่างหาก คาม แปลว่า บ้าน)การที่ต้องขอพระบรมราชานุญาตเพราะถือว่า พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของแผ่นดิน การจะกระทำใดบนพื้นแผ่นดินจึงต้องขอพระบรมราชานุญาตก่อน โดยทั่วไป ลูกนิมิตที่ใช้ผูกสีมาจะมีจำนวน 9 ลูก โดย ฝังตามทิศต่างๆ โดยรอบอุโบสถทั้ง 8 ทิศๆ ละ 1 ลูก และฝังไว้กลางอุโบสถอีก 1 ลูกเป็นลูกเอก เมื่อจะผูกสีมาพระสงฆ์จำนวน 4 รูป ก็จะเดินตรวจลูกนิมิตที่วางไว้ตามทิศต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่ทิศตะวันออกเป็นต้นไป เรียกว่า สวดทักสีมา จนครบทุกทิศและมาจบที่ทิศตะวันออกอีกครั้ง เพื่อให้แนวนิมิตบรรจบกัน เมื่อสวดทักนิมิตจบแล้ว ก็จะกลับเข้าไปประชุมสงฆ์ในอุโบสถ และสวดประกาศสีมาอีกครั้ง หลังจากนั้นก็จะทำการตัดลูกนิมิตลงหลุมเพื่อกลบ แล้วสร้างเป็นซุ้มหรือก่อเป็นฐานตั้งใบสีมาต่อไป ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจุบันใบสีมานี้ ได้กลายเป็นเครื่องหมายบอกเขตของโบสถ์แทนลูกนิมิต ที่เป็นเครื่องหมายเดิมที่ถูกฝังอยู่ข้างใต้ไปแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องของความสวยงาม หรือการออกแบบในภายหลังก็ได้
การฝังลูกนิมิต จะใช้ลูกนิมิตผูกสีมาจำนวน 9 ลูก ฝังตามทิศต่างๆ รอบอุโบสถทั้ง 8 ทิศ ทิศละ 1 ลูก และฝังไว้กลางอุโบสถอีก 1 ลูก ถือเป็น ลูกเอก รอบนอกลูกแรกที่สำคัญที่สุด คือ
ปริศนาธรรมในงาน "ปิดทองฝังลูกนิมิต" ชาวพุทธเชื่อว่า การทำบุญปิดทองฝังลูกนิมิตได้บุญมาก เพราะเหตุผลคือ หนึ่งวัดจะจัดได้เพียงครั้งเดียว การเตรียมการก็ประกอบด้วย อุปกรณ์และสิ่งของอันเป็นมงคลมากมาย การประกอบพิธีก็จะต้องมีการสวดถอนสีมา เพื่อให้เป็นสถานที่ที่บริสุทธิ์จริงๆ พ้นจากสภาพที่อาจเคย เป็นสีมามาก่อน และสถานที่นั้นต้องได้รับ พระราชทาน เป็นเขตวิสุงคามสีมา เป็นสิทธิของสงฆ์แห่งวัดนั้นถูกต้องตามกฎหมาย
ด้วยเหตุที่ในสมัยก่อน การ ที่จะสร้างโบสถ์ได้หลังหนึ่งๆ หรือแม้จะซ่อมแซมโบสถ์เก่าให้สวยงามขึ้นมิใช่เรื่องง่าย และต้องใช้ระยะเวลานานมาก ดังนั้น จึงเชื่อกันว่า หากใครได้มีโอกาสทำบุญ “ฝังลูกนิมิต” หรือพูดง่ายๆ ว่าได้ร่วมสร้างโบสถ์ให้พระได้ใช้ทำสังฆกรรมนั้น จะมีอานิสงส์ถึง 6 ประการด้วยกัน คือ
หมายเหตุ : โบสถ์ และวิหารจะต่างกันที่ วิหารแม้จะใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเหมือนกัน แต่ไม่สามารถทำสังฆกรรมได้ เนื่องจากไม่มีการกำหนดเขตแดน หรือสีมาไว้เหมือนโบสถ์
ขั้นตอนการบูชาปิดทองลูกนิมิต (ก่อนเข้าอุโบสถ)
1. นำใบอธิษฐานเขียนชื่อ-นามสกุล 2. นำด้ายร้อยใส่เข็ม 3. นำใบโพธิ์ ติดปัจจัย เพื่ออุทิศ ทำบุญให้พระคุณพ่อ พระคุณแม่ 4. นำดอกไม้ ธูป เทียน ทอง บูชาพระพุทธหน้าอุโบสถ (ปิดทองพระพุทธ 1 แผ่น) 5. บูชาพระเสร็จแล้ว นำใบโพธิ์ปัก/ติด ที่ต้นโพธิ์เงิน โพธิ์ทอง 6. ก่อนเข้าอุโบสถ ทำบุญติดผ้าป่าลอยฟ้า (เป็นเจ้าของอุโบสถก่อน) เพื่อเปิดประตูบุญ 7. เข้าใจกลางอุโบสถ นำเข็ม ด้าย ดินสอ ใบอธิษฐาน ใส่ลงในหลุมนิมิต ลูกที่ 1 (ลูกเอก) 8. ก่อนออกจากอุโบสถ ถวายผ้าไตร และ หนังสือพระไตรปิฎก 9. ออกจากอุโบสถ ปิดทองลูกนิมิต ลูกที่ 2 ที่หน้าอุโบสถ แล้วเดินเวียนทางขวา ปิดทองจนครบทั้ง 9 ลูก
คำอธิฐานการปิดทองฝังลูกนิมิต ปิดนิมิต ลูกเอก เสกประส่าท งามโอภาส มาสเฉลิม เสริมสัณฐาน เป็นนิมิต เตือนตา สาธุการ ท่ามกลางงาน บุญพิธี ผูกสีมา เกิดชาติหน้า อย่ารู้เข็ญ ได้เป็นใหญ่ รูปวิไล เป็นเสน่ห์ ดังเลขา ปิดนิมิต ลูกทิศ บูรพา ให้ก้าวหน้า เกียรติยศ ปรากฏไกล ปิดนิมิต ลูกทิศ อาคเนย์ ขอให้เทวาประสิทธิ์ พิสมัย ปิดนิมิตทิศทักษิณศักดิชัย ให้สมใจสมบัติ วัฒนา ปิดนิมิต ลูกทิศ หรดี ขอให้ชีวิตมั่น ชันษา ปิดนิมิต ทิศประจิมอิ่มอุรา ปราถนาใดได้ สมใจปอง ปิดนิมิต ทิศพายัพ ดับทุกข์โศก นิราศโรค นิราศภัย ร้ายทั้งผอง ปิดนิมิต ทิศอุดร กรประคอง ได้เงินทองสมหมาย ทุกรายการ ปิดนิมิต ทิศอิสาน ประการท้าย ให้สมหมาย ได้สุข ทุกสถาน รวมเก้า ลูกสุขใส ใจเบิกบาน กว่าจะถึง ซึ่งนิพพาน เมื่อนั้นเทอญ |
Last Updated on Tuesday, 22 September 2009 23:17 |
ปิดทองวัดประจำรัชกาล 9 วัด |
ปิดทอง 7 พระธาตุประจำวันเกิด |
ปิดทอง 12 พระธาตุประจำปีเกิด |